Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | วารสารปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๔ | ศรีสุดา พัฒจันทร์, สมโภชน์ อเนกสุข, ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
วารสารปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๔


บทความวิจัย : คุณลักษณะเชิงปรากฏการณ์ขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษามือ
ของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ผู้วิจัย : ศรีสุดา พัฒจันทร์ 1, สมโภชน์ อเนกสุข 2, ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์ 3

E-mail : 1 Srisuda607@gmail.com , 2Sompoch@buu.ac.th , 3Sasinan@gmail.com

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษามือของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 2) ศึกษาคุณลักษณะเชิงปรากฏการณ์ขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษามือของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาที่ 2 และ 3 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 3 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษามือของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คุณลักษณะเชิงปรากฏการณ์ด้านครอบครัวพบว่าโรงเรียนที่นักเรียนเรียนรู้ภาษามือดี ผู้ปกครองตระหนักและให้ความสำคัญต่อนักเรียน ส่วนโรงเรียนที่นักเรียนเรียนรู้ภาษามือต่ำพบว่าผู้ปกครองขาดความเข้าใจด้านความบกพร่องทางการได้ยิน และมีทัศนคติทางลบต่อนักเรียน ด้านการศึกษาพบว่าโรงเรียนที่นักเรียนเรียนรู้ภาษามือดี ครูมีความเชี่ยวชาญด้านภาษามือ และโรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ส่วนโรงเรียนที่นักเรียนเรียนรู้ภาษามือต่ำพบว่าครูขาดความเชี่ยวชาญด้านภาษามือ และโรงเรียนขาดการส่งเสริมพัฒนาความรู้ความสามารถของครู ด้านนักเรียนพบว่าโรงเรียนที่นักเรียนเรียนรู้ภาษามือดี นักเรียนมีความพร้อม และมีความรับผิดชอบต่อการเรียน ส่วนโรงเรียนที่นักเรียนเรียนรู้ภาษามือต่ำพบว่านักเรียนมีความพิการซ้อน ครอบครัวมีปัญหา และเข้ารับการศึกษาช้ากว่าปกติ ด้านสังคมพบว่านักเรียนที่เรียนรู้ภาษามือดีและเรียนรู้ภาษามือต่ำเกิดการพัฒนาทักษะภาษามือจากเพื่อน


คำสาคัญ: ภาษามือ, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, คุณลักษณะเชิงปรากฏการณ์ขององค์ประกอบการเรียนรู้ภาษามือ

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด