Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | วารสารปีที่ ๑๓ | จักฤษณ์ ธนัญชยากร, เบญจพร ศักดิ์ศิริ, อิศวรา ศิริรุ่งเรือง

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
วารสารปีที่ ๑๓

บทความวิจัย : การใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ 1414
ของคนพิการทางการเห็น

ผู้วิจัย : จักฤษณ์ ธนัญชยากร1, เบญจพร ศักดิ์ศิริ2, อิศวรา ศิริรุ่งเรือง3

E-mail : 1 sirmjbb10@windowslive.com

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์ อัตโนมัติ (TAB Telephony 1414) ของคนพิการทางการเห็น 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการ ข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติของคนพิการทางการเห็น 3) เสนอแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ


กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ กลุ่มคนพิการทางการเห็นที่จดทะเบียนคนพิการของกรมส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 และอาศัย อยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติและแนวทางการให้ บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ


ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการเป็นประจำ รู้จักการให้บริการจากคำแนะนำของเพื่อนมากที่สุด ปัญหาของ ผู้ที่ใช้บริการเป็นประจำมีปัญหาจากการใช้งานอยู่ในระดับน้อย ปัญหาของผู้ที่เคยใช้บริการข้อมูลข่าวสาร ในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติในบางครั้งและไม่ประสงค์ใช้บริการอีกต่อไป/ไม่ใช้บริการข้อมูลข่าวสาร ในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติพบปัญหาไม่เคยพบการประชาสัมพันธ์บริการทางเอกสารอักษรเบรลล์ มากที่สุด รองลงมาคือไม่เคยได้ยินการประชาสัมพันธ์บริการทางวิทยุ ผู้ใช้บริการเป็นประจำที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกันจะมีปัญหาการใช้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ผู้ใช้บริการ เป็นประจำที่ไม่ได้รับการศึกษาและจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาจะมีปัญหาจากการใช้บริการน้อยกว่า ผู้ใช้บริการเป็นประจำที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา และแนวทางการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบ เดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะกลับมาใช้บริการอีกครั้งเมื่อมีการแก้ไขปัญหาแล้ว และจะกลับมาใช้บริการอีกครั้งเมื่อได้รับข้อมูลรายละเอียดการใช้บริการ


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สภาพการบังคับใช้กฎหมายหรือนโยบายด้านอาชีพ และการจ้างงานของคนพิการ อยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบระดับความรู้ฯ และระดับคะแนนสภาพ ความเป็นจริงและประสบการณ์เกี่ยวกับอาชีพของคนพิการในปัจจุบัน ทั้งโดยรวมและรายด้านตามปัจจัยส่วน บุคคล มีความแตกต่างกันในแต่ละประเด็นของแต่ละกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านเจตคติ ความเชื่อต่อคนพิการ พบว่าคนทั่วไปมีทัศนคติที่ดีต่อคนพิการมองว่าคนพิการมีศักยภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อเพื่อนร่วมงานและบุคคลทั่วไป


การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า 1) องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการควรให้ความรู้/ ข้อมูลแก่คนพิการและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของคนพิการตามกฎหมายอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองตามกฎหมายในการประกอบอาชีพและการจ้างงาน คนพิการ 2) ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพให้ทันสมัย เพื่อพัฒนาแรงงานคนพิการให้เป็นแรงงานมีฝีมือเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน 3) ควรได้มีการวิจัยเชิง สังเคราะห์บทเรียนและการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อร่างสาระสำคัญ ประเด็นทางอาชีพและการจ้างงาน สภาพความเป็นจริง เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการไทย


คำสาคัญ: คนพิการทางการเห็น, บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ, พฤติกรรม

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด