Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | วารสารปีที่ ๑๓ | อัญชลี สารรัตนะ, คำแปลง แสงคำ, สุจิตรา แสงคำ

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
วารสารปีที่ ๑๓

บทความวิจัย : การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและความร่วมมือ
ระหว่างสถานศึกษาและครอบครัว

ผู้วิจัย : อัญชลี สารรัตนะ1, คำแปลง แสงคำ2, สุจิตรา แสงคำ3

E-mail : 1unesar@kku.ac.th

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการศึกษาด้านทักษะชีวิตให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญาด้วยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและครอบครัว และ 2) ศึกษาความสามารถด้านทักษะชีวิต ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการศึกษาด้วยแผนที่พัฒนาขึ้น เนื้อหาที่ใช้สำหรับการพัฒนาทักษะชีวิต คือ เนื้อหาด้าน การเพาะเห็ดฟาง และเนื้อหาด้านการประกอบอาหาร การทำไข่เจียว กลุ่มเป้าหมาย คือ ครอบครัวของนักเรียนที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญาที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนการศึกษาเด็กพิเศษมารีย์นิรมล อำเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 5 ครอบครัวซึ่งประกอบด้วย บิดา มารดา และนักเรียนที่ได้รับ การวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญาจำนวน 5 คน เป็นเพศชาย 3 คน เพศหญิง 2 คน มีอายุ ระหว่าง 15-18 ปี มีระดับเชาวน์ปัญญา 50-70 ซึ่งเป็นระดับเรียนรู้ได้ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียววัดหลังการ ทดลอง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการศึกษา เรื่องการเพาะเห็ดฟาง และการทำไข่เจียว และ 2) แบบสังเกต ซึ่งใช้ประเมินความสามารถในการปฏิบัติการเพาะเห็ดฟาง และการทำไข่เจียว จำนวน 12 ชุด เป็นแบบตรวจสอบ รายการ 2 ระดับ คือ ทำได้และทำไม่ได้ที่มีค่าความเที่ยงจากผู้สังเกตสองคนเท่ากับ 0.9 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการศึกษาด้านทักษะชีวิต ประกอบด้วยแผนการเพาะเห็ด จำนวน 6 แผน ระยะเวลา 30 วัน และแผนการประกอบอาหารไข่เจียว จำนวน 5 แผน ระยะเวลา 5 สัปดาห์ 25 คาบ คาบ ละ 50 นาที ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญและเป็นแผนที่ใช้หลักการวิเคราะห์งานร่วมกับการสาธิต และให้นักเรียนลงมือปฏิบัติทำจริงและปฏิบัติซ้ำ สำหรับความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและครอบครัว ได้แก่ ความร่วมมือในการศึกษาแผนการจัดการศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อนำไปสอนบุตรที่บ้าน ความร่วมมือในการ แลกเปลี่ยน แบ่งปัน สนับสนุนสื่อการสอนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ 2) ความสามารถในการเพาะเห็ดฟาง พบว่า นักเรียนทั้งสามคนมีความสามารถในการทำกิจกรรมระหว่างเรียนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 91.85 และหลังเรียนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 97.57 ด้านการทำไข่เจียวพบว่านักเรียนทั้งสองคนมีความสามารถในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 92.07 และหลังเรียนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 97.23


คำสาคัญ: ทักษะชีวิตของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา และครอบครัว,
การวิเคราะห์งาน, การเพาะเห็ดฟาง, การทำไข่เจียว

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด