Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | วารสารปีที่ ๑๔ | บทความวิจัยเรื่องที่ ๔

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
วารสารปีที่ ๑๔

บทความวิจัย :รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนโดยใช้การจัดการความรู้ เพื่อส่งเสริมการมองสบตา
ของเด็กออทิสติก

ผู้วิจัย : สมบัติ ลำคำ1, สมหมาย อ่ำดอนกลอย2

E-mail : 1sombutl@hotmail.com, 2sommai_a@hotmail.com

บทคัดย่อ

เด็กออทิสติก มีความบกพร่องของระบบประสาทพัฒนาการที่มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลและมีอัตรา การเกิดโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาครูผู้สอนให้เกิดความชำนาญในการจัดการเรียนการสอน ในระยะแรกเริ่มอย่างเหมาะสมได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาคุณภาพ การสอนของครูผู้สอน และพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนโดยใช้การจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมการมองสบตา ของเด็กออทิสติก โดยอาศัยการสนทนากลุ่มของครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านเด็กซุปเปอร์คิดส์ พิษณุโลก จำนวน 28 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษ รวมทั้งการศึกษาผลของการใช้รูปแบบต่อคุณภาพการสอนของครูผู้สอนและ ความสามารถในการมองสบตาของเด็กออทิสติก ในช่วงอายุ 3-5 ปี จำนวน 28 คน โดยรวบรวมข้อมูลคุณภาพ เชิงเนื้อหาและคะแนนของการประเมินผล พบว่า 1) สภาพปัญหาและความต้องการ คือ ครูผู้สอนมีทักษะ ความชำนาญในการสอนที่แตกต่างกันและขาดความรู้ในด้านสาเหตุและลักษณะความบกพร่อง วิธีการสอน และ ต้องการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารร่วมกันของครูผู้สอน ผู้ปกครอง และจิตแพทย์เพื่อส่งเสริมการมองสบตาของ เด็กออทิสติก 2) รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนโดยใช้การจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมการมองสบตาของเด็กออทิสติก ในโรงเรียนบ้านเด็กซุปเปอร์คิดส์ พิษณุโลก มีขั้นตอน คือ การสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการ ความรู้ในโรงเรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างนวัตกรรมชุดความรู้เรื่องการส่งเสริมการมองสบตาของเด็ก ออทิสติก การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการมองสบตาของเด็กออทิสติก ที่ครูผู้สอนจะได้รับการช่วยเหลือจากผู้มีประสบการณ์ รวมทั้งนวัตกรรมชุดความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้นได้มีเนื้อหา ด้านพัฒนาการของการมองสบตา สาเหตุและลักษณะของความบกพร่อง ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการมองสบตา การปรับพฤติกรรมเบื้องต้นเพื่อแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวและโวยวาย วิธีการสอน การสังเกตผลข้างเคียงที่เกิดจาก การใช้ยาที่อาจส่งผลต่อการสอนการมองสบตา และระบบการติดต่อสื่อสารร่วมกัน 3) ผลจากการใช้รูปแบบการ พัฒนาครูผู้สอนโดยใช้การจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมการมองสบตาของเด็กออทิสติกสามารถพัฒนาคุณภาพการสอน ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมการมองสบตาและความสามารถในการมองสบตาของเด็กออทิสติกเพิ่มขึ้น




คำสาคัญ: การจัดการความรู้, การมองสบตา, ออทิสติก


บทความวิจัยเรื่องที่ ๔ :ดาวน์โหลดบทความวิจัยเรื่องที่ ๔ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด