Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ | วินัย รูปขำดี

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ประจำปี ๒๕๕๑


บทความวิจัย : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน กับผลการดำเนินงาน
ตามความคิดเห็น ของผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียนเรียนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตาม
แนวคิดโครงสร้างซีท (SEAT) ในจังหวัด กำแพงเพชร ประจำปีการศึกษา 2549

ผู้วิจัย : วินัย รูปขำดี

E-mail : se_kpcenter@hotmail.com

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา1) สภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของโรงเรียนเรียนร่วม 2) ผลการดำเนินงานของโรงเรียนเรียนร่วม และ 3) ความสัมพันธ์ของสภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารงานกับผลการดำเนินงานของโรงเรียนเรียนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามแนวคิดโครงสร้างซีท (SEAT) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนเรียนร่วมในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 22 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนเรียนร่วมตามแนวคิดโครงสร้างซีท ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเตรียมความพร้อมเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน และ ด้านการกำหนดนโยบาย กฎหมาย สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการดำเนินงานของโรงเรียนเรียนร่วม โดยประเมินพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 2 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการทางด้านสังคมและพัฒนาการทางด้านการเรียน ผลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) สภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการดำเนินงานที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษทั้ง 4 ด้าน

Abstract

The purposes of this research were to study 1) the participatory conditions of school administration 2) the results of school processing on the integrated schools and 3) the relationship between the participatory condition of school administration and the results of school processing of the integrated schools by the school-based management through SEAT framework method. The samples were those who were concern with the integrated programs from 22 integrated schools in Kamphaengphet Province. The results indicated that : 1) The conditions of school administration on the integration divided into 4 aspects including : readiness preparation for special need students and regular students; physical environment preparation; management of teaching – learning activities and formulation of policy, law ,materials and facilities; were at the average level. 2) The results of school processing on two aspects; the social aspect and learning development aspect of students were at a good level. 3) There were positive relationship (correlation) between the participatory conditions of school administration and results of school processing regarding development of students with special needs in 4 aspects.


คำสาคัญ: การบริหารงาน โรงเรียนเรียนร่วม โรงเรียนเป็นฐาน แนวคิดโครงสร้างซีท,
School Adminstration, Integrated School, School– Based Management, SEAT Framework.

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด