Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | วารสารปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๒ | อาจารย์วิไลรัตน์ ศรีคำ

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
วารสารปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๒


บทความแปล : Educational Outcomes of Tutoring: A Meta-analysis of Findings
ผลลัพธ์ทางการศึกษาของการติว : การวิเคราะห์อภิมานจากผลการวิจัย

ผู้วิจัย : อาจารย์วิไลรัตน์ ศรีคำ

E-mail : wilairutsrikam@yahoo.com

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis) จากผลการวิจัยการประเมินผลโปรแกรมการติวในโรงเรียนอย่างอิสระจำนวน 65 โปรแกรมแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมเหล่านี้มีผลกระทบทางบวกกับผลการเรียนทางด้านวิชาการ และทัศนคติของนักเรียนผู้ถูกติว นักเรียนที่ได้รับการติวจะประสบความสำเร็จในการสอบดีกว่า(outperform)นักเรียนกลุ่มควบคุม(control students) และนักเรียนที่ถูกติว สามารถพัฒนาทัศนคติที่มีต่อเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมในโปรแกรมการติวไปในทางบวกอีกด้วย การวิเคราะห์อภิมานยังแสดงให้เห็นอีกว่า โปรแกรมการติวมีผลกระทบทางบวกกับนักเรียนที่ทำหน้าที่เป็นผู้ติว เช่นเดียวกับนักเรียนที่ได้รับการติว ผู้ติวก็ได้รับความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวดีขึ้นและพัฒนาทัศนคติที่มีต่อเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมในโปรแกรมการติวไปในทางบวกเพิ่มมากขึ้น การมีส่วนร่วมในโปรแกรมการติวมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีผลกระทบเลยกับการเคารพตนเอง(self-esteem)ในการเป็นผู้ติวหรือผู้ถูกติว

โปรแกรมการติวในโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยมหลายแห่งในปัจจุบัน แตกต่างจากโปรแกรมการติวในอดีต โปรแกรมการติวสมัยใหม่นี้ นักเรียนจะถูกติวโดยเพื่อนรุ่นเดียวกัน(peers) หรือบุคคลที่ใกล้จะเป็นมืออาชีพ(paraprofessionals) มากกว่าครูประจำการในโรงเรียนหรือผู้ติวมืออาชีพ(professionaltutors) การใช้เพื่อนรุ่นเดียวกัน(peers)และบุคคลที่ใกล้จะเป็นมืออาชีพส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อการจัดโปรแกรมการติว ไม่มีโปรแกรมการติวใดๆ ที่จัดไว้ให้เฉพาะสำหรับลูกคนมีเงินชั้นสูงต่อไปอีกแล้ว ดังนั้น โปรแกรมการติวในปัจจุบันจึงเปิดโอกาสให้กับทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิงในห้องเรียนธรรมดาทั่วประเทศเหมือนกันทั้งหมด

ครูและนักวิจัยเป็นจำนวนมากได้เขียนรายงานเกี่ยวกับผลกระทบของโปรแกรมเช่นนี้ ที่มีต่อนักเรียน ถึงแม้ว่าบางรายงานจะอยู่บนพื้นฐานของความชื่นชอบเป็นการส่วนตัว (subjective impressions) และการสังเกตที่ไม่เป็นทางการ ที่มีคุณค่าและมีขอบเขตในการดำเนินการที่เป็นระบบก็ตาม(limited scientific value) แต่ก็มีรายงานอื่นๆอีกหลายรายงานที่ได้พรรณนาผลการศึกษาโดยการทดลองเชิงปฏิบัติการ(experimental studies)เกี่ยวกับการติว ในการศึกษาเช่นนี้ โดยปกติแล้ว ผู้วิจัยจะเปรียบเทียบผลการเรียนของกลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถเท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มที่ถูกติว กับกลุ่มที่ไม่ถูกติวการเปรียบเทียบจะมุ่งเน้นไปที่การได้รับการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นใน 2 แบบ คือห้องเรียนที่ถูกติวกับห้องเรียนที่ไม่ถูกติว และบางครั้งก็ครอบคลุมไปถึงพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิผลของนักเรียนที่ถูกติวกับนักเรียนที่ไม่ถูกติวเป็นต้น


เจ้าของบทความ : Peter A. Cohen, James A. Kulk, and Chen-Lin C. Kulik. American Educational

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด