Skip Content
ไทย / อังกฤษ

ขณะนี้คุณอยู่ที่ | หน้าแรก | ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ | อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล และจิรภา นิวาตพันธุ์

วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ประจำปี ๒๕๕๑


บทความวิจัย : ภาษามือ : ภาษาของคนหูหนวก

ผู้วิจัย : อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล และจิรภา นิวาตพันธุ์

E-mail : fhumalt@ku.ac.th

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาท่ามือ พยางค์ และคำในภาษามือไทยในแนวสัทวิทยาอัตภาค (Goldsmith 1976, 1990) ซึ่งได้นำมาประยุกต์ใช้วิเคราะห์ภาษามืออเมริกัน และภาษามือชาติต่างๆ (Brentari, 1996) สัทวิทยาอัตภาควิเคราะห์หน่วยมือในเชิงซ้อน โดยเน้นการเกิดพร้อมของหน่วยมือต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของท่ามือ ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่าภาษามือไทยมีโครงสร้างท่ามือที่ประกอบด้วยหน่วยมือต่างๆ ได้แก่ รูปแบบมือ การหันฝ่ามือ ตำแหน่งมือและการเคลื่อนมือ รวมทั้งส่วนประกอบอื่นที่ไม่ได้ใช้มือ ซึ่งแต่ละหน่วยมือเหล่านี้สามารถจำแนกความแตกต่างของความหมายของคำได้ในทำนองเดียวกันกับหน่วยเสียงที่จำแนกความหมายของคำในภาษาพูด และพบว่าโครงสร้างท่ามือภาษามือไทยมีโครงสร้างภายในของพยางค์ที่มีทั้งลักษณะเหมือนและต่างจากพยางค์ในภาษาพูด โดยเน้นการเกิดพร้อมของหน่วยมือต่างๆ เป็นสำคัญ ภาษามือไทยมีพฤติกรรมภาษาที่สามารถวิเคราะห์ได้ในแนวสัทวิทยาอัตภาคเหมือนภาษาพูดทั่วไป เช่น มีการแปร การลดรูปและละหน่วยมือ การลดรูปและละพยางค์ พยางค์และคำในภาษามือไทยแสดงให้เห็นว่า ภาษามือไทยมีหน่วยและโครงสร้างทางภาษา คล้ายหน่วยและโครงสร้างทางสัทวิทยาของภาษาธรรมชาติ

Abstract

This paper studies the signs, syllables and words in Thai Sign Language (ThSL) based on Autosegmental Phonology (Goldsmith, 1976, 1990) which is used for the analyses of the American Sign Language and many other sign languages (Brentari, 1996). Autosegmental phonology analyzes components of signs non-linearly, emphasizing on the simultaneity in time of the components. The results of this study show that a ThSL sign is composed of handshape, orientation, location and movement as well as other non-manual components. Each of these components functions to distinguish word meaning in the same manner as a phoneme does in a spoken language. Evidence for syllable internal-structures is also found for ThSL. The syllable displays both aspects that are the same and different from that of a spoken language. Simultaneity in time is the most important characteristics of ThSL syllables. Moreover, ThSL displays behavior very much like that which was found in a spoken language, with variants, reduction and deletion of sign components and syllables. Syllables and words in ThSL are evident that ThSL consists of linguistic units and structures comparable to the phonological units and structures in a natural language.


คำสาคัญ: สัทวิทยาภาษามือไทย พยางค์ในภาษามือไทย คำในภาษามือไทย การเกิดพร้อมใน ภาษามือไทย
Thai Sign Language Phonology, Thai Sign Language syllables, Thai Sign Language words,
Simultaniety in Thai Sign Language T

วารสารฉบับเต็ม :ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม ภาพ icon เพื่อให้ทราบว่าเป็นไฟล์ PDF

menu-thai

* ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์ ในวารสารเป็นของผู้เขียนบทความ และมิได้แสดงว่า กองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยราชสุดาและ คณะผู้จัดทำเห็นด้วยทั้งหมด