Skip Content
ขณะนี้คุณอยู่ที่ | รูปแบบนวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำ

นวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำ


หัวข้อในการประกวดนวัตกรรมฯ

การประกวดนวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำ มีแนวคิดเพื่อสนับสนุนให้มีการสร้างผลงานนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อลดทอนหรือขจัดอุปสรรคในการดำรงชีวิตของคนพิการ และตอบสนองการใช้งานอย่างเท่าเทียมกันระหว่างคนพิการ และคนทั่วไป โดยเป็นแนวคิดใหม่ที่สามารถใช้งานได้โดยง่าย และประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการให้ดีขึ้นเทียบเท่ากับคนทั่วไป ตามจุดประสงค์ของงานสัมมนา นวัตกรรมเพื่อการเข้าถึงของคนทั้งมวล โดยเปิดรับนวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำตามหัวข้อดังต่อไปนี้


1. การออกแบบสำหรับคนทั้งมวล

2. เทคโนโลยีและงานวิจัยเพื่อพัฒนาสุขภาวะ

3. ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุ

4. นวัตกรรมและงานวิจัยทางสังคมกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

5. นวัตกรรมทางการศึกษา

ประเภทของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

1. นักศึกษา

2. ประชาชนทั่วไป

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด

1. ประเภทนักศึกษา

- กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา

- ส่งผลงานเดี่ยวหรือกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 5 คน โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในชั้นปี ภาควิชา
  หรือคณะเดียวกัน

- ผลงานที่ส่งประกวดจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน

2. ประเภทประชาชนทั่วไป

- เป็นบุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเพศ, อายุ, และวุฒิการศึกษา

- ส่งผลงานเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 5 คน

ข้อกำหนดในการเข้าส่งนวัตกรรมเข้าร่วมประกวด

1. นวัตกรรมที่ส่งจะต้องไม่เคยเผยแพร่, อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาเผยแพร่
หรือได้รับรางวัลจากการประกวดใดๆ มาก่อน

2. นวัตกรรมที่ส่งจะต้องไม่เป็นการทำซ้ำ, ลอกเลียนแบบจากผลงานอื่น, หรือละเมิดลิขสิทธิ์

3. นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวด 1 ผลงาน สามารถส่งได้เพียง 1 หัวข้อเท่านั้น

4. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด 1 คน (กลุ่ม) สามารถส่งได้มากกว่า 1 ผลงาน แต่ไม่เกิน
หัวข้อละ 1 ผลงาน

5. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องดำเนินการจัดทำโปสเตอร์นำเสนอผลงาน
ตามข้อกำหนดต่อไปนี้

5.1 จัดทำโปสเตอร์โดยใช้ไฟล์รูปแบบโปสเตอร์ที่กำหนดให้ กำหนดเป็นไฟล์ .jpg
หรือ .jpeg ขนาด A2 ในแนวตั้ง ใช้ตัวอักษรขนาดไม่ต่ำกว่า 12 pt.
ความละเอียดไม่ต่ำกว่า 200 pixel/inch โดย 1 ผลงานสามารถส่งได้ไม่เกิน
2 โปสเตอร์

5.2 จัดทำเนื้อหาภายในโปสเตอร์ด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ โดยการสรุป
ใจความสำคัญ และการใช้ภาพประกอบ, ตาราง, หรือสัญลักษณ์เพื่อสื่อ
ความหมายให้ชัดเจน

6. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องส่งไฟล์โปสเตอร์เข้าสู่ระบบส่งผลงานวิชาการ

7. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องนำโปสเตอร์ และอุปกรณ์ มาติดตั้งในบริเวณที่กำหนดให้
ในวันนำเสนอผลงาน

8. ผลการคัดเลือกและตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

เกณฑ์การตัดสิน

1. ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบผลงาน คิดเป็น 15% ของคะแนนทั้งหมด
2. การนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง คิดเป็น 30% ของคะแนนทั้งหมด
4. ความสะดวกในการใช้งาน คิดเป็น 15% ของคะแนนทั้งหมด
4. ประสิทธิภาพในการใช้แก้ปัญหา คิดเป็น 20% ของคะแนนทั้งหมด
5. รูปแบบและเทคนิคในการนำเสนอ คิดเป็น 20% ของคะแนนทั้งหมด

รางวัล

      รางวัลสำหรับนวัตกรรมทั้ง 2 ประเภท มีดังนี้

1. รางวัลชนะเลิศ หัวข้อละ 1 รางวัล จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท
และโล่ประกาศเกียรติคุณ

2. รางวัลดีเด่น หัวข้อละ 2 รางวัล จะได้รับประกาศนียบัตร


  ผลงานชนะเลิศที่ได้รับคะแนนสูงสุดในประเภทนักศึกษาและประชาชนจะได้ไปแสดงผลงาน
  ในงาน i-CREATe 2017 ณ ประเทศญี่ปุ่น


ดาวน์โหลดรูปแบบโปสเตอร์นำเสนอนวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำ

 Template ในรูปแบบโปรแกรม Illustrator (.ai)

 Template ในรูปแบบโปรแกรม Photoshop (.psd)